โรงเรียนเทศบาล ๑ ศรีเกิด ตั้งอยู่เลขที่ 734 ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 053 – 711620 โทรสาร 053 – 714229 สังกัด เทศบาลนครเชียงราย จัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีพื้นที่ 6 ไร่ 3 งาน 30 ตารางวา

ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนเทศบาล ๑ ศรีเกิด เดิมชื่อ โรงเรียนประชาบาล ๑ ศรีเกิด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2468 โดยอาศัยศาลาบาตรหน้าพระวิหารในกำแพงวัดศรีเกิด เป็นสถานที่จัด การเรียนการสอน มีครูคนเดียว คือ นายแสงทอง ดีมาโรศ เปิดการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนประมาณ 40 คน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 15.00 น. หยุดพักใหญ่เวลา 11.00 น. ถึง 12.00 น. หยุดพักน้อยตั้งแต่เวลา 13.30 น. ถึง 13.45 น. ปิดเต็มสัปดาห์ ปิดวันพระเต็มวันและวันโกนครึ่งวัน ต่อมา เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2548 ได้ย้ายมาก่อสร้างอาคารเรียนที่บริเวณวัดร้าง “วัดลำเปิง” ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับวัดศรีเกิด (ที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน) โดยอาศัยไม้เก่า จากการรื้อค่ายทหารเม็งรายมาก่อสร้างอาคารเรียนเป็นที่ทำการเรียนการสอนซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 ทางราชการได้กำหนดให้มีการก่อตั้งเทศบาลเป็นเทศบาลเมืองเชียงราย โรงเรียนประชาบาลตำบลเวียง ๑ ศรีเกิด อยู่ในเขตเทศบาล นายอำเภอเมืองเชียงรายในขณะนั้นได้มอบโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองเชียงราย โดยมีคณะเทศมนตรีเมืองเชียงรายในขณะนั้น รับมอบในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 โรงเรียนประชาบาลตำบลเวียง ๑ ศรีเกิด จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโรงเรียนเทศบาล ๑ ศรีเกิด โดยเปิดทำการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา และต่อมาปี พ.ศ.2485 ได้ย้ายกลับเข้าสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2506 จึงได้โอนกลับมาสังกัดเทศบาลนครเชียงราย กระทรวงมหาดไทยและ ในปี พ.ศ. 2536 ได้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ปัจจุบันโรงเรียนเทศบาล ๑ ศรีเกิด เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 – 3 และ ประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ภายใต้หลักสูตรส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านภาษาอังกฤษและภาษาจีน (Intensive English and Chinese Program : IEC Program) อีกทั้งยังมีการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(ฝ่ายประถม) ในรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ

รายนามผู้บริหารโรงเรียน
1. นายแสงทอง ดีบาโรศ พ.ศ. 2468
2. นายหลง บุญมะโน พ.ศ. 2468 – 2470
3. นายทา ไชยเลิศ พ.ศ. 2470 – 2472
4. นายชื่น อำมาตย์มณี พ.ศ. 2472
5. นายปัน นามวงศ์ พ.ศ. 2472
6. นายแสวง สุภารักษ์ พ.ศ. 2473
7. นายมี จิตต์มะโนวรรณ์ พ.ศ. 2473 – 2477
8. นายเลื่อน แสนทะนิล พ.ศ. 2477
9. พระภิกษุจำรัส จิตต์เจริญ พ.ศ. 2477 – 2478
10. นายบุญลือ แสงสุวรรณ์ พ.ศ. 2478
11. นายอินตา ดวงสุวรรณ์ พ.ศ. 2478 – 2480
12. นายมี จิตต์มะโนวรรณ์ พ.ศ. 2480
13. นายดาบรัตน์ วิชัยศิริ พ.ศ. 2480 – 2494
14. นายชม ชัชวรัตน์ พ.ศ. 2494
15. นายอินทร์ ดวงสุวรรณ์ พ.ศ. 2494 – 2495
16. นายทองอินทร์ ธิแสง พ.ศ. 2496 – 2510
17. นางอรุณ อินทยศ พ.ศ. 2511 – 2518
18. นายศุภชัย ยอดเมือง พ.ศ. 2519 – 2520
19. นางจันทร์เพ็ญ เอกเอี่ยมสิน พ.ศ. 2521 – 2527
20. นายสนั่น ดาวทอง พ.ศ. 2527 – 2543
21. นางจันทร์สวย เจริญศัสตรารักษ์ พ.ศ. 2544 – 2547
22. นายสมบูรณ์ น้อยหมอ พ.ศ. 2547 – 2551
23. นายสนั่น จอมใจ พ.ศ. 2551 – 2552
24. นางเนติกานต์ สุวรรณเพ็ชร พ.ศ. 2552 – 2553
25. นายสมพงษ์ สันธิราษฎร์ พ.ศ. 2553 – 2555
26. นางเนติกานต์ สุวรรณเพ็ชร พ.ศ. 2555 – 2556
27. นายสมพงษ์ สันธิราษฎร์ พ.ศ. 2556 – 2557
28. นางเนติกานต์ สุวรรณเพ็ชร พ.ศ. 2557 – 2562
29. นางสาวพรพิศ เทพปัญญา พ.ศ. 2562 – 2566
30. นางสาวศิริภัส ขัติยะ พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน

Scroll to Top